อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน
1.ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ( internet : interconnection network ) หมายถึง การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ
1.2 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
1) อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ
ค.ศ.1968 : เครือข่ายอาร์พาเน็ต ( arpanet ) ใช้ในวงการทหารและการศึกษา
ค.ศ.1985 : เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( internet ) ใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
|
เครือข่ายอาร์พาเน็ต |
|
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต |
2) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ.2530 : การเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันดทคโนโลยีแห่ง เอเชียไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2535 : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคิมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC ) ได้เชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัย 5 แห่ง เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร
พ.ศ.2537 : การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ( ISP )
|
เครือข่ายไทยสาร |
2.การทำงานของอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามมารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฏและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล ( Protocol )
อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอรืของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหาย ระบบเครือข่ายก็ยีงคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งจะเรียกว่า เครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซิง ( Packet-Switching network )
|
เครือข่ายแบบโพรโทคอล |
|
เครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซิง |
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอที
( IP Adress) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 และเนื่องจากหมายเลยไอพีจดจำได้ยากและทำให้เกิดการสับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ
เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server ) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อและโดเมน
โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ ดังนี้
1)โดเมนระดับบนสุด ( Top-level Domain Name ) จะบอกถึงประเภทขององค์กรหรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
|
ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเภทขององค์กร |
ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีดดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร
2)โดเมนระดับย่อย : ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงงประเภทขององค์กร
|
ตัวอย่างโดเมนย่อยในประเทศไทย |
3.การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial-Up Connection ) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
1) เครื่องคอมพิวเตอร์ : เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
2) เว็บบราวเซอร์ : เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่ เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
3) หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ : สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร
โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
4) โมเด็ม : เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital)
ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
5)
บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) : ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน
รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง
บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ 3BB เป็นต้น
4.การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
มีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์หลายแบบเช่น
4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้
1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ๊อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook. Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น
4.2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (Local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่าเครื่องปลายทาง (remote host)
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำ 2 ลักษณะ คือ
1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่
1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP CuteFTP เป็นต้น
2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser
4.3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet) บล็อก (blog) เป็นต้น
1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นที่ถามมาในกลุ่มหัวข้อนั้น ๆ ได้
2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร โดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน
4.4 การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต
การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต มี 2 รูปแบบ ดังนี้
1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่น www.sanook.com www.pantip.com เป็นต้น
2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยตรง การสนทนาไก้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MSN Messenger, AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk, NET Messenger Service, Jabber, ICQ และ Skype
4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนจะต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ การสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดั้งนี้
1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ หรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น www.google.com, www.bing.com, www.search.com เป็นต้น
2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories) เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็ปไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com , www.yahoo.com เป็นต้น
5.คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
5.1 ผลกระทบทางบวก
อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม ดังนี้
1. ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคม ิดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
2. ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
5.2 ผลกระทบทางลบ
อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางลบต่อสังคม ดังนี้
1. ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจกันอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูงขึ้น
2.เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกม